14/03/2015 08:15 เมื่อ 14/03/2015
อ่าน 34731
| ตอบ 9
เกร็ดความรู้เกี่ยวการเชื่อมท่อทองแดงในงานแอร์หรือตู้เย็น ถึงจะไม่ใช่ช่างแต่ถ้ารู้ไว้ก็ดี
เกร็ด – การเชื่อมท่อทองแดง (ช่างแอร์) เชื่อมทองเหลือง เหล็ก อลูมินั่ม
(Brazing Technique in Cooling System)
.ใช้ลวดเงินเชื่อมท่อทองแดง ไม่ต้องใช้ฟลักลลลลก็ติด
แต่ใน รง. ผรั่ง ใช้ฟลัก
เชื่อมทองเหลือง ควรใช้ฟลัก
อลูมิเนียมต้องฟลัก
1. พื้นที่เชื่อมต้องสะอาดเป็นพิเศษ ต้องปราศจากไขมัน 100% ท่อใหม่เชื่อมได้เลย เพราะสะอาดอยู๋แล้ว แต่ถ้าเก่าเก็บ....
1.1 ท่อทองแดง ( Copper Tube ) อาจใช้สันมีด Cutter ขูดผิวเดิมออกโดยรอบบริเวณที่ต้องการเชื่อมต่อ
1.2 การปะรูรั่วในบริเวณนั้นมักมีน้ำมัน Compressor ไหลออกมา ต้องเช็ดขจัดไขมันด้วยทินเนอร์ก่อนทำตามข้อ 1.1.ให้หมดจด
1.3 การเชื่อมท่อออกจาก Compressor จะต้องใช้ท่ออย่างหนา เพราะเป็นจุดที่มีการสั่นสะเทือน ถ้าท่อบางจะแตกหักในเวลาไม่นาน และต้องป้องกันความร้อนไปหา Compressor ด้วยผ้าชุบน้ำพันรอบท่อในเวลาเชื่อม มิเช่นนั้น น้ำมันไหม้อุดตัน ระบบ จะเสียเร็ว
1.4 จุดที่เคยแตกหัก เพราะการสั่น ควรใช้ท่อทองแดงที่โตกว่าสวมเชื่อมดามเสริม ความแข็งแรงเป็นแนวยาว
1.5 การเชื่อมจุดต่อจะต้องสวมกันให้สนิทพอดี และสอดสวมกันสนิทเป็นแนวยาวๆๆเพื่อให้รับแรงบิด+แรงสั่นและ เพื่อมิให้เศษโลหะจากการเชื่อมท่อย้อยตกเข้าไปในระบบ เศษโลหะกลมเล็ก ๆ เพียงหนึ่งชิ้น หรือเศษโลหะจากการเลื่อย ก่อปัญหาทำให้
1.5.1 ลูกสูบ Comp แตกทะลุ(ชิ้นโลหะกลม)
1.5.2 ถูกดูดเข้าไปในบูทรองน้ำหนัก (Bush Bearing) จน Motor เกิด Lock Rotor (ติดขัดจนหมุนไม่ได้) หรือถูกขัดสีจนหลวมเสียก่อนเวลาอันควร
1.5.3 อาจทำให้ Motor ช๊อตได้ ถ้าเศษโลหะมีมาก
1.5.4 เกิดการอุดตันในระบบกรอง (filter dyer) หรือตันท่อ Capillary tube หรือทำให้ Expansion วาวเสียหาย
จะต้องรักษาความสะอาด ให้ดีที่สุด เพราะการรื้อออกมาซ่อมใหม่จะสิ้นเปลือง เวลา แรงงาน ค่าน้ำยา และทำลายสิ่งแวดล้อม ท่อทองแดงเก่าอาจมีความสกปรกภายใน ถ้าจะนำมาใช้ ควรใช้เชือกเส้นโต ( ฝ้าย) ชุบทินเนอร์สอดเข้าในท่อรูดไปมาให้สะอาดจริงๆ ถ้าไม่มั่นใจควรใช้ท่อใหม่จะคุ้มค่ากว่า ท่อเก่าใช้ได้เฉพาะท่อนสั้นๆ เพราะเช็ดได้ทั่วถึง(ใช้แก้ขัด)
1.6 การเชื่อมจุดต่อที่มีอุปกรณ์รุงรังรอบข้างควรใช้ผ้าชุปนํ้าป้องกันไฟหัวเชือมพลาดไปถ ูกสายไฟ และ ตัวอื่นๆ
1.7 ขณะเชื่อมควรใช้ Nitrogen ไหลช้าๆในท่อป้องกันการเกิดกรดกัดกร่อน ทำให้อุปกรณ์อายุสั้นลง
1.8 ฝึกเชื่อมให้เร็ว-แน่นอน การถูกความร้อนเป็นเวลานานจะทำให้โลหะเกิดความอ่อนแอในจุดนั้น และอาจเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์รอบข้าง การเตรียมผิวโลหะ+ใช้ฟลักซ์ที่ใช้เชื่อมทองเหลืองก็ใช้ได้
Flux ประสาน+ปรับเปลวไฟ+ทักษะการยัดลวดเชื่อมให้สอดคล้องกับการเคลื่อนหัวเชื่อม และควรไปดูช่างที่ชำนาญเขาทำอย่างไร แล้วมาลองฝึกด้วยตนเอง
1.9 ช่างใหม่ ควรลองซื้อแอร์เก่า ตู้เย็น มาลองทำของตัวเองก่อน หรือควรไปฝึกงานตามร้านใหญ่ๆ มีเรื่องอีกมากที่ท่านยังไม่รู้ อ่านหนังสือทุกๆเล่มที่เกี่ยวกับงานของเรา – ดู Intenet
1.10 การเชื่อมห้องฟรีซเซอร์ อลูมิเนี่ยม อาจต้องเจอแน่ แต่เชื่อมยากมากเพื่อการประหยัดอาจลองใช้หม้อ,กระทะ,ฝาหม้อ อลูมิเนียม ลองซ้อมมือก่อน ลวดเชื่อมแบบทดลอง ใช้สายไฟอลูมิเนียมเส้นโตๆทำในที่โล่ง สวมแว่นตาเข้ม กันแสงและสะเก็ดไฟ อาจไม่ต้องใช้FLUX ตอนหัดเชื่อมเล่น ฟลักซ์ (นํ้ายาประสานอลูมิเนียม) เพราะมีพิษ ซ้อมเพื่อดูการหลอมละลายและการประสานกัน ลองทำทั้งในAluminiumหนาและบาง (ตัวปั๊มนํ้าในรถยนต์ก็เป็น Aluminium) ขั้นแรกเชื่อมหัดต่อเชื่อมเส้นAluminium ให้ต่อกันก่อน
1.11 ในAluminium บางเพื่อป้องกันการโบ๋ทะลุอาจต้องขยับหัวเชือ่มไปมาไห้ความร้อนแก่จุดเชื่อม ให้ความร้อนนั้น หนักไปที่ลวดเชื่อม ซึ่งหนากว่าแต่ยังคงให้รูรั่วมีความร้อนสูงอยู่ด้วย ปรับเปลวไฟให้สั้นเพื่อจะได้บังคับทิศทางเปลวไฟได้ง่ายๆให้ทิศทางของเปลวไฟเอียงค่อนข้างขนานกับผิวที่เชื่อม เพื่อป้องกันลมไปกระแทกกับผิวอลูมิเนียมที่บาง แล้วโป้วทะลุ ขณะให้ความร้อนพื้นผิวต้องเลื่อนเปลวไฟตลอดเวลา ถ้าถือหัวเชื่อมนิ่งๆ อาจโบ๋ได้
1.12 อเซทิลีน (แก๊สก้อนผสมน้ำหรือถังสำเร็จรูป) ให้ความร้อนสูงกว่า LPG แต่ถ้าใครอยากลองใช้ LPG เชื่อม (ยากกว่า) ลองปรับ LPG ลงให้ Oxygen เพิ่มขึ้นก็จะได้ความร้อนสูงเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่เปลวก็จะมีแรงดันสูงเจาะทะลุอลูมิเนียมที่อ่อนตัวได้ง่ายอย่างที่เคยบอก แก้โดยหันเปลวให้ขนานกับผิวงาน เน้นความร้อนไปที่เส้นลวดเชื่อมเคลื่อนไหวเปลวไฟตลอดเวลา
1.13 เมื่อฝึกจนพอแล้ว จึงมาลองใช้น้ำยาประสานอลูมิเนียม ลวดเชื่อมจริงๆ และใช้พัดลมระบายอากาศช่วย ขณะเชื่อม(ไล่ควันพิษ)
2 .การปรับแรงดันแก๊ส LPG+ออกซิเจน ควรหมุนสกรูปรับแรงดันที่ Regulator ให้มีแรงดันต่ำๆไว้ก่อน เท่าที่มีการไหลของแก๊สเพียงพอแก่การเผาไหม้ที่หัว Torch (หัวพ่นไฟเชื่อม) เรื่องนี้ควรศึกษาให้ดีมิเช่นนั้น อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต
การระเบิดของถังแก๊ส LPGอาจทะลุขึ้นไปถึงหลังคาบ้านชั้นบนได้โดยอาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตั้งแรงดัน Oxygenไว้สูงและหัวเชื่อม(Torch)มีการอุดตันบางส่วน ออกซิเจนวิ่งย้อนเข้าไปยังฝั่งของถังLPG และเกิดการเผาไหม้ภายในถังLPG à ระเบิด
3 . Aluminium อาจเชื่อมด้วยไฟฟ้ากระแสตรง
-Aluminium หนาอาจใช้ ตู้หม้อแปลงอ๊อกธรรมดา(แรงดันออกมา(AC)ประมาณ80V 60-100A ตัวเลขนี้ไม่แน่- ขึ้นกับการตั้ง ผ่าน Diode Bridge ตัวโตๆ 4 ตัว+ธูปอ๊อก Aluminium ควรมีการให้ความร้อนกับชิ้นงานทื่หนาเพื่อให้ติดดี
- แบบใช้ Inverter + Argon+ ลวดเชื่อม(ท่านผู้ใดรู้เรื่องนี้กรุณาลอง post มาแบ่งๆ กันอ่านก็ดี) ค่อยๆแต้มเป็นจุดๆต่อๆกัน รู้สึกแบบนี้จะได้ผลงานสวยงามมั่นคงดีที่สุด คิดว่าเป็นเพราะอินเวอสเตอร์ให้กระแสความถี่สูงและมีการไล่ออกซิเยนในอากาศออกไปในขณ ะเชื่อมด้วยแก็สเฉื่อย(Argon)
หมายเหตุ : ไม่ว่ากรณีใดๆ ห้ามให้น้ำเข้าไปในระบบ ถ้าน้ำเข้าไปมากยิ่งแก้อาการตันความชื้นยาก, ตู้เย็น Capillary tube จะมีขนาดเล็กกว่า Air Condition จะตันง่ายมาก และพบบ่อยมากถ้าไม่ระวัง การแก้ไขมีรายละเอียดมากพอสมควร
การวินิจฉัยดูคร่าวๆจาก
1.กระแสไฟโดยดูจาก amp meter
2การเปลี่ยนแปลงความเย็นในห้องฟรีซโดยความเย็นลดลงทันทีที่มีการตัน .....ตัองตัดไฟด่วนที่สุดก่อนCOMP
3ฟัง+เสียงการไหลของน้ำย าที่หยุดไป ให้ไปหัดฟังเสียงน้ำยาแอร์ ที่คอยเย็น ตั้งแต่ comp เริ่มทำงาน เสียงจะเปลียนเป็นระยะ ตู้เย็นก็เสียงอืกแบบ เวลาผ้านไป เสียงการไหลก้เปลียน จะช่วยช่างวิเคราะห์ได
4การเปลี่ยนแปลงแรงดันด้าน LO , HI ดูจาก เกย์ วัดแรงดัน บางเครื่อง3...4...ชม ถึงเริ่มตัน แบบนี้ ....อันตรายมาก เพราะช่างไม่ได้นั่งเฝ้า compressor กลับบ้าน..... lสีแดงต่อที่ ไฮ ท่อทางอัดแรงดันสูง น้ำเงิน ต่อที่ โล ท่อทางดูด แรงดันต่ำ กว่า
เพิ่มเติม1
ลองนำไปใช้ดู การปรับเปลวหัวเชื่อม(TORCH) ปรับให้เป็นเปลวรูปขนนก ก่อน จากนั้น
1.1ท่อโตต้องการความร้อนมาก ปรับออ๊กชิเจนเพิ่มอีกนิด
1.2ท่อเล็กบาง ให้ลด LPG ลง ไฟจะพุ่งแรงแต่มีขนาดเล็ก ใช้แบบไหนขึ้นกับความถนัด ขอย้ำ ตั้งแรงดัน oxygen ...LPG GAS..ที่ REGURATOR(หัวปรับแรงดันที่ถังแกส)ตั้งให้ตำๆๆไว้ก่อน ถ้าGAS'ไม่พอค่อยๆๆเพิ่ม อย่าประมาท
จุดที่มักมีปัญหา....คือ....การเชื่อมในซอก..มุม....ทำแล้ว..ดูให้แน่ ตรวจให้รอบ..มักง่าย...จะลำบาก ..นั่งปวดหัว ตรวจด้วยกระจกทันตกรรม ตัวงอๆๆๆ.
ท่อทองแดงแบบม้วนมีข้อดีคือโค้งงอง่าย งาน หัก ศอก ไม่ต้องใช้เครื่องดัดให้ท่อเป็นรอยก็ได้ เพียงดัดเป็นครึ่งวงกลม ก็ เดินต่อได้แล้ว ท่อทองแดงรุ่นหนาแข็งตรง ทนทาน ทนแรงดันสูงมาก ทนแรงบีบ มากกว่า แต่การหักงอต้องใช้ข้อต่อเชื่อม จึงใช้เวลามากในการเดินท่อ การเชื่อมท่อเหล็กกับท่อทองแดง ให้ใช้ ลวดทองเหลืองเชื่อมฉาบท่อเหล็กไว้แล้วอาจใช้ลวดเงินเชื่อมต่อท่อทองแดงกับทองเหลืองอีกที
อเซทิลีนจะให้คุฌภาพการเชื่อมทื่ดี ในโลหะ แข็ง เช่น เหล็กบาง จุดต่อ ออกจาก คอม มีการสั่นมาก ชอบหัก......อาจทำเป็นวงโค้งของท่อ เพื่อรับการสั่น
ในทางปฏิบัติ สามารถดัดแปลงถัง picnic มาใช้ เก็บ ออกซิเจนที่แรงดันตำได้ แต่มีรายระเอียดมาก ต้องปรานีต มิฉะนั้นอันตราย
การใส่ filtre DYER ควรใส่ด้าน ไฮ ก่อนเข้า CAP TUBE ควรใส่ในทิศที่น้ำยาไหลลงเพื่อให้น้ำยาผ่านลงง่าย DYER ควรอย่าให้ สีที่เคลือบถูกเปลวไฟ ใช้ผ้าชุบน้ำหุ้ม แอร์ โรตารื่ ควรเดินท่อให้สั้นที่สุด ถ้ายาว ...คอมจะขาดน้ำมันได้ง่ายๆ
ทางที่ดี ควรวางชุดคอยล ร้อน ให้ต่ำกว่าคอยล์เย็น น้ำมันในคอมจะไม่หนีจากคอม เท่าที่ผ่าคอม ดู คอยล ร้อนcondensing unit ถ้า วางเหนือ คอยล์เย็น fan coil unit มักเกิดการขาดน้ำมัน ใน คอมเพรสเซอร์ ลิ้นคอมพัง
มาพูดถืงหัวเชื่อม WELDING TIPS... 99 ต้องอย่าให้ตัน จะเกิดอันตรายได้..หัวมีเบอร์เล็กไปใหญ่ เบอร์ 0 ถืง 15 ตัวชุดด้ามเชื่อม TORCH มีแบบสำหรับตัดเรียก...INJECTOR BLOW PIPE 2 แบบใช้เชื่อมตรงๆ EQUAL PRESSURE PIPE เปลวไฟที่ใช้ ทั่วๆไป 3000 องศา ซื แต่ถ้าเพิ่ม ออกซิเจนเข้าไปจะเป็น3200 ซี ความร้อนสูงๆ ต้องมือไวไม่งั้นโบ+ เป็นรู
ท่อทองแดงในระบบเย็น ให้หยดน้ำมันคอมตรงหัวบานก่อนกดลง เพื่อให้มีความเรียบเนียน แต่ถ้าบานแป็บเบรครถยนต์ใช้น้ำมันอื่นๆได้
ถามปัญหาไว้เพื่อให้ติด อยู่ในใจ ผู้ หัด เชื่อม จะได้ จำ ได้ เพราะก่อนลงมือจะต้องซึมซับ เทคนิค พอควร
หลักคิด ก็คือ การที่ น้ำทองเหลืองจะ ติดได้ดี อ ภ ที่ผิวของเหล็ก ที่จะเชื่อม
จะต้อง สูงใกล้เคียงหรือ มากกว่าจุด หลอมเหลวของ ทองเหลือง แต่ เหล็กแท่ง โตๆๆๆ จะ กระจายความร้อน ได้ เร็ว มากๆๆจึงต้องเน้น ความร้อนไปที่เหล็ก
มองให้ออก อย่าคิดว่าหลักการนี้ ตื้นๆ จริงๆ แล้ว ประยุกต์ ใช้ได้กว้าง โดยเฉพาะ งานเชื่อมโลหะชนิดแข็งพิเศษ ในชิ้นงานที่อยู่ ลืกๆ และมี ความสำคัญ เรามีโอกาส เพียง ครั้งเดียว รวมทั้งในแง่ ของความเชื่อถือจาก นายจ้าง
เพิ่มเติม
ท่านใดเป็นนักประดิษฐ์ ดัดแปลง อากาศร้อนๆ แอร์ทำงานหนัก คอมพัง ง่าย มี แอร์ เก่าๆ ลอง ย้ายคอมอออกมานอก ชุด คอยล์ร้อน ทำที่แขวน คอมโดยใช้น็อตยาวๆๆ 4 ตัวแขวนคอม 4 มุม เอาคอม แช่ น้ำ โดยใช้ถังสวมเข้าใต้ คอมเพลสเซอร์ เติมน้ำ อย่าให้ถึงขั้วไฟฟ้า ต่อท่อน้ำเย็น ทิ้ง จากคอยล์เย็นลงถังนี้ หล่อลื่นพัดลมให้ดี ดูกะทู้การหล่อลื่นพัดลม (เพื่อประหยัดไฟ..) คอมจะไม่พังง่าย..ทน อึด..
โดย : คุณ พระนพพร(ปากช่อง) ได้แก้ไขข้อความนี้ ครั้งล่าสุดเมื่อ Mar 29 2012, 09:14
ขอขอบคุณ PS อิเลคทรอนิค (รวมกระทู้)
VIDEO
ขอเชิญชมสินค้าของเรา