อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างกินไฟมากบ้างน้อยบ้างหากเรารู้วิธีการใช้ที่ถูกต้องก็จะทำให้เราใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด เราจึงขอนำบทความจาก thaifactory มาให้อ่านไว้ประดับความรู้
การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า
ไฟฟ้าแสงสว่างการเลือกใช้
- การใช้หลอดไส้จะกินไฟมากแต่ให้แสงสว่างน้อย คือให้แสงสว่างร้อยละ 5 ส่วนอีกร้อยละ 95 เป็นการทำความร้อนให้กับไส้หลอด
- หลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดนีออน) กินไฟน้อยกว่าหลอดไส้แต่ให้แสงสว่างมากกว่า คือ ให้แสงสว่างร้อยละ 30 และความร้อนร้อยละ 20 ซึ่งต้องใช้คู่กับบัลลาสต์และสตาร์ตเตอร์ หลอดชนิดนี้ แบ่งย่อยเป็นอีก 4 ชนิดคือ
1. หลอดฟลูออเรสเซนต์ ชนิดธรรมดา มีขนาด 20 และ 40 วัตต์
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ ชนิดประหยัดพลังงาน หรือหลอดผอม มีขนาด 18 และ 36 วัตต์ สามารถใช้ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดธรรมดาได้ทันที
3. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ชนิดบัลลาสต์ภายใน (หลอด SL,PL) จะเป็นแบบขั้วเกลียว สามารถใช้ทดแทนหลอดไส้ได้ทันทีและกินไฟน้อยกว่าหลอดไส้ 4 เท่า มีอายุการใช้งาน นานกว่าหลอดไส้ 8 เท่า
4. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ชนิดบัลลาสต์ภายนอก (หลอด PLS, PLC) มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มีบัลลาสต์ภายใน ต่างกันที่ หลอดชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเฉพาะตัวหลอดได้ เนื่องจากตัวหลอดเป็นแบบขาเสียบ ในการติดตั้งจะต้องมีชุดขาเสียบเพื่อใช้กับบัลลาสต์หรือเป็นขาเสียบทีมีบัลลาสต์ การเลือกใช้บัลลาสต์กับหลอดฟลูออเรสเซนต์จะมีด้วยกัน 3 แบบ คือ
1. บัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดาจะกินไฟประมาณ 10-14 วัตต์
2. บัลลาสต์แกนเหล็กประหยัดไฟฟ้าจะกินไฟประมาณ 5-6 วัตต์
3. บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ จะกินไฟประมาณ 1-2 วัตต์
ดังนั้น จึงควรที่จะไม่ใช้บัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดา เนื่องจากกินไฟมากกว่า
การใช้งานที่ถูกวิธี
- ใช้หลอดไฟวัตต์ต่ำในบริเวณที่ไม่ต้องการแสงมากนัก
- เลือกใช้ไฟตั้งโต๊ะ ในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างเป็นพิเศษ เช่น อ่านหนังสือ เย็บผ้า จะประหยัดกว่าเปิดไฟทั้งห้อง
- อย่าทาสีผนังเป็นสีเข้ม ควรใช้สีอ่อนๆ เช่น สีขาว สีครีม เป็นต้น เพื่อช่วยให้ความสว่างมากขึ้น
- หลอดไฟที่ขาด ควรใส่ไว้กับขั้วหลอดจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่
- ในการเปลี่ยนหลอดไฟ จะต้องมั่นใจว่าได้ปิดสวิตช์ของหลอดไฟนั้นก่อน
- อย่าปล่อยให้หลอดไฟกะพริบ หรือหลอดแดงโดยไม่สว่าง เพราะอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิด อัคคีภัยได้
- เลือกใช้โคมไฟชนิดที่มีแผ่นสะท้อนแสง
- ไม่นำวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย เช่น กระดาษ ผ้าคลุมหลอดไฟฟ้า
- เลือกใช้โคมไฟฟ้าชนิดที่มีแผ่นสะท้อน
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้จากเอกสารของ สพช. เรื่อง “ไฟฟ้าแสงสว่าง”
การบำรุงรักษา
- หมั่นทำความสะอาด หลอดไฟและขั้วหลอด รวมถึงโคมไฟและฝาครอบต่างๆ ด้วย
- ปิดสวิตช์ไฟทันทีที่ไม่ใช้งาน
โทรทัศน์ เครื่องรับโทรทัศน์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
- โทรทัศน์ขาวดำ ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว
- โทรทัศน์สี ขณะนี้นิยมใช้กันมาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ ระบบธรรมดาและระบบรีโมทคอนโทรล
การเลือกใช้โทรทัศน์สีควรเลือกขนาดและระบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจาก ขนาดใหญ่จะกินไฟมากกว่าขนาดเล็ก และหากเป็นระบบรีโมทคอนโทรลจะกินไฟมากกว่า ระบบธรรมดา ดังนี้
- ระบบธรรมดา โทรทัศน์สีขนาด 20 นิ้ว จะกินไฟมากกว่าขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ 30
- ระบบรีโมทคอนโทรล โทรทัศน์สีขนาด 20 นิ้ว จะกินไฟมากกว่าขนาด 14 นิ้ว ร้อยละ 34
- โทรทัศน์สีขนาด 20 นิ้ว ระบบรีโมทคอนโทรล จะกินไฟมากกว่าระบบธรรมดาในขนาดเดียวกัน
การใช้งานที่ถูกวิธี
- ไม่ควรเปลี่ยนช่องบ่อยๆ
- ในการดูโทรทัศน์เวลากลางคืน ควรใช้สวิตซ์ตั้งเวลาปิดโทรทัศน์
- ในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง ควรปิดโทรทัศน์และดึงปลั๊กออก
- ติดตั้งเสาอากาศให้มั่นคงแข็งแรง และห่างจากแนวสายไฟฟ้า
การบำรุงรักษา
- ปิดโทรทัศน์เมื่อไม่มีคนดู
- อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน ควรถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อปิดโทรทัศน์
- วางโทรทัศน์ในที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี
- อย่าปรับความสว่างของจอภาพให้มากเกินไป เพราะทำให้หลอดภาพมีอายุสั้นและกินไฟมาก
ตู้เย็นการเลือกใช้ ควรเลือกตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ซึ่งหมายถึงมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีขนาดที่เหมาะสมกับครอบครัวโดยมีแนวทางการเลือกใช้ดังนี้
- ขนาดตู้เย็นควรมีขนาด 2.5 ลูกบาศก์ฟุต (คิว) สำหรับครอบครัว 2 คน และเพิ่มอีก 1 ลูกบาศก์ฟุต ต่อ 1 คน
- ควรเลือกตู้เย็นชนิดที่มีฉนวนหนาและเป็นแบบโฟมฉีด
- ตู้เย็น 2 ประตูกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียว ที่มีความจุเท่ากัน
- ตู้เย็นชนิดไม่มีน้ำแข็งจับ (โนฟรอสท์) จะกินไฟมากกว่าชนิดที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็ง
การใช้งานที่ถูกวิธี
- อย่านำของร้อนเข้าตู้เย็น ควรทิ้งไว้ให้เย็นก่อนจึงนำเข้า
- ควรติดตั้งระบบสายดินกับตู้เย็น
- หมั่นทำความสะอาดตะแกรงระบายความร้อนหลังตู้เย็น
- อย่าให้พื้นบริเวณประตูตู้เย็นเปียก มือจับควรมีผ้าหุ้ม
- ถอดปลั๊ก ในกรณีที่ไม่อยู่บ้านหลายวัน
การบำรุงรักษา
- การตั้งตู้เย็นให้ปรับระดับด้านหน้าของตู้เย็นสูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย เพื่อให้ประตูตู้เย็นปิด เข้าไปเองเมื่อคุณเปิด
- เลือกที่ตั้งให้เหมาะสม ไม่ใกล้เตาไฟ หรือโดนแสงแดด และห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 15 ซม.
- ตั้งอุณหภูมิในตู้เย็นให้เหมาะสมกับปริมาณและชนิดของสิ่งที่แช่เย็น
- ตรวจสอบยางขอบประตูสม่ำเสมอ ไม่ให้มีรอยฉีกขาดหรือเสื่อมสภาพ
- ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ และอย่าเปิดตู้เย็นบ่อยๆ
เตารีดไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้าในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ
- เตารีดไฟฟ้าแบบธรรมดา ใช้กันโดยทั่วไป
- เตารีดไฟฟ้าแบบไอน้ำ ราคาสูงกว่าธรรมดา ให้ความสะดวกเพราะไม่ต้องพรมน้ำให้กับผ้าก่อนรีด
- เตารีดไฟฟ้าแบบกดทับ ราคาสูงมาก เหมาะกับการใช้งานในร้านซักรีดที่มีการรีดผ้าครั้งละมากๆ
การเลือกใช้เตารีดไฟฟ้า
- ควรเลือกให้มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณผ้า เช่น หากมีปริมาณผ้ามาก แต่ใช้เตารีดขนาดเล็ก (750 วัตต์) จะใช้เวลารีดผ้ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เตารีด ขนาดใหญ่ขึ้นจะใช้เวลาน้อยกว่าซึ่งคิดเป็นค่าไฟฟ้าจะใกล้เคียงกัน การใช้งานที่ถูกวิธี- รีดผ้าบางก่อนผ้าหนา เพื่อการปรับอุณหภูมิจากร้อนน้อยไปร้อนมาก
- พรมน้ำให้ผ้าก่อนรีด แต่ต้องไม่มากเกินไป
- ควรรีดผ้าครั้งละมากพอควร ไม่ควรรีด ทีละชุด
- ควรดึงปลั๊กก่อนรีดเสร็จ ประมาณ 3-4 นาที เพราะความร้อนที่เหลือยังเพียงพอ
- เต้าเสียบที่ใช้กับเตารีดควรมีสายดิน
- น้ำที่ใช้เติมเตารีดไอน้ำควรเป็นน้ำกลั่นหรือน้ำอ่อน (ไม่กระด้าง)
การบำรุงรักษา
- หมั่นทำความสะอาดหน้าเตารีด
- ต้องระวังไม่วางเตารีดทับสายไฟฟ้า
- หมั่นตรวจสอบฉนวนหุ้มสายเตารีด และช่วงหน้าเตารีด หากชำรุดต้องรีบซ่อมแซม รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จากเอกสารของ สพช. เรื่อง “เตารีดไฟฟ้า”
พัดลม พัดลม แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- พัดลมตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะ นิยมใช้โดยทั่วไป
- พัดลมติดเพดาน จะกินไฟมากกว่าแบบตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะ 1 เท่าตัว ฉะนั้นควรเลือกใช้พัดลม ตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะ เพราะกินไฟน้อยกว่าแบบติดเพดานถึงร้อยละ 50
การใช้งานที่ถูกวิธี
- เต้าเสียบพัดลมควรมีสายดิน
- บริเวณที่ตั้งพัดลมไม่ควรมีวัสดุติดไฟ เช่น ผ้าม่าน กระดาษ
- อย่าเปิดพัดลมเพื่อระบายอากาศในบริเวณที่มีก๊าซหุงต้มทินเนอร์หรือน้ำมันเชื้อเพลิง
- พัดลมที่เปิดแล้วไม่หมุน ให้รีบปิดและส่งซ่อม ทันที
- ไม่ควรใช้พัดลมไอน้ำ เพราะมีผลให้เกิดปอดชื้น
การบำรุงรักษา
- อย่าเปิดพัดลมทิ้งไว้โดยไม่มีคนอยู่ เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้
- ปรับระดับความเร็วลมให้เหมาะสม
- ควรปิดพัดลมและดึงปลั๊กออกทุกๆ ครั้งเมื่อเลิกใช้
- หมั่นทำความสะอาดใบพัดและแกนใบพัดเสมอ
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับจำนวนคนในครอบครัวดังนี้
จำนวนคน(คน)
|
ขนาดหม้อหุงข้าว(ลิตร)
|
กินไฟประมาณ(วัตต์)
|
1-3
|
1
|
450
|
4-5
|
1.5
|
550
|
6-8
|
2
|
600
|
8-10
|
2.8
|
600
|
10-12
|
3
|
800
|
การใช้งานที่ถูกวิธี- ใส่น้ำให้ปริมาณพอเหมาะกับปริมาณข้าว
- หุงข้าวให้พอดีกับจำนวนคน
- อย่าเปิดฝาหม้อข้าวดูในขณะหุงข้าว
- เต้าเสียบหม้อหุงข้าว ควรมีสายดิน
- ไม่ควรเก็บหม้อข้าวไว้ในที่ชื้น เพราะจะเป็นสนิมได้ง่าย
- หมั่นตรวจสอบขั้วต่อสายที่หม้อหุงข้าว
- ควรระวังไม่ให้มีรอยขีดข่วนที่หม้อชั้นใน
- ดูแลด้านในของหม้อชั้นนอกไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ภายใน
- ก่อนว่างหม้อชั้นในลงในหม้อชั้นนอก ให้เช็ดด้านนอกของหม้อชั้นในให้แห้งสนิทและไม่มีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จากเอกสารของ สพช. เรื่อง “หม้อหุงข้าวไฟฟ้า”
กาต้มน้ำไฟฟ้าหรือกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ควรเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนคนในครอบครัวและใช้ให้ถูกวิธีดังนี้- ใส่น้ำให้ปริมาณพอเหมาะกับความต้องการ
- ถ้าต้มน้ำต่อเนื่อง ต้องมีน้ำบรรจุไว้อยู่เสมอ
- ถอดปลั๊กทันทีที่น้ำเดือด
- ไม่ควรวางใกล้วัสดุติดไฟ
- อย่าใส่น้ำให้ปริมาณมากเกินไป เพราะเวลาน้ำเดือดจะเกิดน้ำล้นและทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้
- เมื่อไม่ใช้งานเป็นเวลานานควรเทน้ำทิ้งและทำให้แห้ง
- หม้อต้มน้ำร้อนต้องต่อสายดินเพื่อป้องกันไฟรั่ว
เตาก๊าซ เตาก๊าซ ที่มีใช้อยู่แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- เตาที่ต้องอาศัยเชื้อไฟจากภายนอก เพื่อจุดไฟในการใช้งาน มีประสิทธิภาพต่ำ
- เตาจุดไฟอัตโนมัติ จะมีการออกแบบที่ทำให้ประสิทธิภาพสูงกว่า การบำรุงรักษา- หมั่นทำความสะอาดภายในเครื่อง
- งดเว้นการใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ หรือแผ่นอลูมิเนียมฟลอยด์มากไป จะทำให้เครื่องเสียหายได้
- งดเว้นการปรุงอาหารที่มีปริมาณน้อยหรือความชื้นต่ำ หรือมีไขมันและน้ำตาลอยู่มาก อาจทำให้เกิดไฟลุกได้ รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จากเอกสารของ สพช. เรื่อง “เตาก๊าซและเตาอบ”
เครื่องปรับอากาศ การเลือกใช้
- ควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่ทำความเย็นได้มากโดยใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย สำหรับประเทศไทย ได้กำหนดมาตรฐานของระบบปรับอากาศที่ติดตั้งในอาคารให้มีค่าพลังงาน ไฟฟ้าต่อตันความเย็นที่ภาระเต็มพิกัด (Full Load) หรือที่ภาระใช้งานจริง (Actual Load) ของเครื่องทำความเย็นแบบติดหน้าต่าง/แยกส่วน (Window/Spilt Type) ไม่เกิน 1.40 กิโลวัตต์ต่อตันความเย็น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับฉลากประหยัดไฟที่กำหนดโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พบว่าเครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 3 4 และ 5 เท่านั้น ที่มีประสิทธิภาพตามค่ามาตรฐานดังกล่าว
- เครื่องปรับอากาศ จัดเป็นอุปกรณ์ที่จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการขจัดความร้อนที่เกิดขึ้นภายใน อาคารหรืออาจกล่าวให้ง่ายก็คือ เครื่องปรับอากาศเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับนำความร้อนภายใน อาคารออกไปทิ้งภายนอก
การใช้เครื่องปรับอากาศ
- เลือกขนาดที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ห้องที่มีความสูงไม่เกิน 3 เมตรและมีพื้นที่ห้องขนาด 13-15 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 7,000 - 9,000 บีทียู/ชั่วโมง ขนาดพื้นที่ 16 - 17 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 9,000 - 11,000 บีทียู/ชั่วโมง
- ใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดซึ่งแสดงด้วยหน่วย EER (Energy Efficiency Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างความสามารถในการให้ความเย็นของเครื่อง (บีทียู/ชั่วโมง) ต่อกำลังไฟฟ้า (วัตต์) ซื้อเครื่องที่มีค่า EER สูง ซึ่งจะให้ความเย็นมากแต่เสียค่าใช้จ่ายไฟฟ้าน้อยกว่า เครื่องที่มีค่า EER ต่ำ
- ตั้งปุ่มปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม อย่าปรับอุณหภูมิให้ต่ำเกินไป โดยปกติควรตั้งที่อุณหภูมิ 25 ํC
- หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ไม่ให้มีฝุ่นจับเพราะประสิทธิภาพการทำความเย็นจะลดลง
- เลือกใช้เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5
ที่มา : www.thaifactory.com
ขอเชิญเยี่ยมชมสินค้าของเรา